วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

นิทาน เรื่องหนูแดงนับเลข

หนูแดง เป็นลูกสาวคนเดียวของครอบครัวสุขสันต์

วันหนึ่ง คุณแม่ให้หนูแดงเอาตะกร้าผลไม้ไปฝากคุณยาย

ในตะกร้าใบนั้นมีผลไม้อยู่ 5 ชนิด คือ แอ็บเปิ้ล กล้วย องุ่น ส้ม และฝรั่ง

คุณแม่บอกทางหนูแดงว่าบ้านคุณยายเป็นบ้านหลังที่ 5 หลังคาสีเขียว

ซึ่งไม่ไกลจากบ้านของเธอนัก

หนูแดงเดินไปถึงปากซอย เจอบ้านหลังที่ 1 หลังคาสีแดง

อ่ะ!สีของหลังคาเหมือนสีของแอ็บเปิ้ลในตะกร้าที่จะเอาไปฝากคุณยายเลย

หนูแดงนึกสนุก จึงเดินผ่านบ้านหลังที่ 2 หลังคาสีเหลือง สีของหลังคาเหมือนสีของกล้วยในตะกร้า

หนูแดงเดินผ่านบ้านหลังที่ 3 หลังคาสีม่วง สีของหลังคาเหมือนสีขององุ่นที่อยู่ในตะกร้าอีกแล้ว

หนูแดงเดินผ่านบ้านหลังที่ 4 หลังคาสีส้ม สีของหลังคาก็เหมือนสีของส้มที่อยู่ในตะกร้า

หนูแดงเดินถึงบ้านหลังที่ 5 หลังคาสีเขียว สีของหลังคาเหมือนสีของฝรั่งที่อยู่ในตะกร้า

ซึ่งเป็นบ้านของคุณยายหนูแดงนั่นเอง หนูแดงจึงเคาะประตูบ้านเรียกหาคุณยาย

พอคุณยายเดินมาเปิดประตูบ้านให้หนูแดง หนูแดงทักทายคุณยายว่า "สวัสดีค่ะ คุณยาย" ^___^

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เพลง

บนท้องฟ้านกกาบินมา เด็กๆจ๋านับซิมีกี่ตัว

นกบอกให้นับชัวร์ ชัวร์ เด็กๆอย่ากลัว นับจนทั่วท้องฟ้า

หนูนาเป็นเด็กน่ารัก เธอร้องทัก เดี๋ยวหนูนับแทนเพื่อน

สัญญาจะไม่นับบิดเบือน จงฟังน่ะเพื่อน ว่านกมี

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ตัว.

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันที่5 กุมภาพันธ์ 2552

วันนี้อาจารย์ สอนเกี่ยวกับการวางแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิศาสตร์ ในแต่ละกลุ่มมีกี่คนต้องสอนตามวัน โดยที่
คนที่ 1 สอนเกี่ยวกับลักษณะของหน่วย โดยใช้เกณฑ์อย่างเดียว เช่น สี รูปร่าง ขนาดโดยมีการการใช้คำถาม เช่น เด็กๆดูชิคะว่ามีลักษณะเป็นยังไงบ้างคะ
คนที่ 2 สอนเกี่ยวกับส่วนประกอบของหน่วยที่ทำ โดยเราอาจมีการทบทวนความรู้เดิมต่อเนื่องจากที่เราสอนเมื่อวาน อาจจะใช้เพลง นิทาน คำคล้องจอง หรืออาจจะใช้คำถามเช่น เมื่อวานนี้เราเรียนเกี่ยวกับอะไรเด็กๆจำได้หรือเปล่ามีอะไรบ้างคะ
คนที่ 3 สอนเกี่ยวกับประโยชน์ของหน่วยที่ทำ ว่ามีประโยชน์ยังไงบ้าง อาจจะมีการเล่าเป็นนิทานที่พูดถึงประโยชน์ หรืออาจจะนำภาพมาไห้ดูเกี่ยวกับหน่วยที่เราทำ

กิจกรรม

กิจกรรมคณิตศาสตร์
หน่วยไข่
กิจกรรมไข่หรรษา
วิธีดำเนินกิจกรรม
การนับ
1. นับจำนวนไข่ว่ามีกี่ฟอง
2. จัดประเภทและนับจำนวนไข่ว่ามีกี่ชนิด
3. นับตะกร้าที่ใส่ไข่ว่ามีกี่ใบ
4. นับสีของเปลือกไข่ว่ามีกี่สี
5.ให้เด็กนับรูปทรงของเปลือกไข่
ตัวเลข
1. นำตัวเลขตามจำนวนของไข่ที่นับได้มาใส่ในตะกร้าทั้งหมด
2. นำตัวเลขมาใส่ตามจำนวนของสีเปลือกไข่
3. ครูวางไข่ในตะกร้าแล้ว ให้เด็กหยิบตัวมาวางตามจำนวนของไข่แต่ละชนิด
การจับคู่
1. ครูให้เด็กจับคู่ตามสีของเปลือกไข่
2. ครูให้เด็กจับคู่ตามขนาดของไข่
3. ครูให้เด็กจับคู่ไข่ตามตัวเลขที่ครูกำหนด
การจัดประเภท
1.ให้เด็กบอกประเภทสี....ของเปลือกไข่
2.ให้เด็กบอกประเภทรูปทรง....ของไข่
3.ให้เด็กบอกประเภทไข่ที่มีขนาดเล็ก
4.ให้เด็กบอกไข่ที่มีรูปทรงกลม
การเปรียบเทียบ
1.เด็กสามารถเปรียบเทียบน้ำหนักของไข่
2.เด็กสามารถเปรียบเทียบผิวของเปลือกไข่
3.เด็กสามารถเปรียบเทียบขนาดของไข่แดง
4.เด็กสามารถเปรียบเทียบสีของไข่แดง
การจัดลำดับ
1.เด็กสามารถเรียงลำดับไข่จากเล็กไปใหญ่
2.เด็กสามารถเรียงลำดับตามน้ำหนักของไข่
รูปทรงและเนื้อที่
1.ให้เด็กสังเกตุรูปทรงและบอกว่าไข่ว่ามีรูปทรงกี่ประเภท
2.ให้เด็กวัดเส้นรอบรูปของเปลือกไข่(ดัวยลวดกำมะยี่)
3.ให้เด็กหาภาชนะที่มีขนาดเหมาะสมมาใส่ไข่ตามขนาดของไข่
การวัด
1.ให้เด็กนำไม้บรรทัดมาวัดขนาดของไข่(ตามแนวตั้ง)
2.ให้เด็กวัดรอบนอกของเปลือกไข่ดัวยลวดกำมะยี่โดยการม้วนลวดรอบเปลือกไข่แล้วนำมาวัด
เซท
1.แผงไข่
2.ขนาด
3.รูปทรง
4.พื้นผิว
5.น้ำหนัก
6.สี
เศษส่วน
1.ให้เด็กแบ่งไข่ 2 ตะกร้าให้เท่าๆกัน
2.ให้เด็กแบ่งแยกไข่แต่ละชนิดออกจากกัน
3.ให้เด็กแบ่งไข่ดาวออกเป็นสองส่วนแล้วกินหนึ่งส่วนเรียกว่ากินไปครึ่งหนี่ง
4.ให้เด็กแบ่งไข่ดาวตามจำนวนของเพื่อน
การทำตามแบบหรือลวดลาย
1.สี
2.ขนาด
3.รูปทรง
4.พื้นผิว
5.น้ำหนัก
การอนุรักษ์
1.มีไข่ชนิดเดียวกันอยู่สองฟองใบที่หนึ่งทำไข่ต้ม ใบที่สองทำไข่ดาวแล้วให้เด็กเลือกไข่ที่คิดว่ามีปริมาณมากกว่า
2.ให้เด็กสังเกตและบอกว่าไข่ที่ใส่ในถ้วยหรือไข่ที่ใส่ในจานมีปริมาณมากกว่ากัน